เมื่อมีตัดตกแล้วก็ต้องมี
ระยะขอบ ( Margin ) หรือ
ระยะปลอดภัยจากการตัด จะอยู่เข้ามาด้านในของเส้นตัดเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะวางตัวอักษร หรือลวดลายกราฟฟิคที่สำคัญ เป็นพื้นที่ที่จะไม่เสี่ยงจะถูกตัด
ทั้ง ตัดตก ( Bleed ) และ ระยะขอบ ( Margin ) สำคัญมากๆ ในการส่งงานพิมพ์กับโรงพิมพ์ทุกที่ เพื่อที่จะให้งานออกมาสำเร็จสวยมาก ดูดี มีมาตรฐาน โดยมาตฐานทั่วไปแล้วระยะ ตัดตก และ ระยะขอบ จะอยู่ที่ 3 mm. เข้าใจง่ายๆ คือ ตัดตกจะเผื่อออกไปจากเส้นตัด ด้านล่ะ 3 mm. และ ระยะขอบ จะเผื่อเข้ามาจากเส้นตัด ด้านล่ะ 3 mm. นั่นเอง
เรามายกตัวอย่างของการทำตัดตก และระยะขอบ ของงานพิมพ์นามบัตร ขนาดสำเร็จ 9 x 5.4 cm.เพื่อนๆ ลองคิดตามดูน่ะครับว่าถ้าเราต้องการงานนามบัตรขนาดสำเร็จ 9 x 5.4 cm. ตัดตก และ ระยะขอบ จะมีขนาดเท่าไหร่ถ้าคิดที่ด้านล่ะ 3 mm.
ติ๊กตอกๆๆ....ตัดตกจะเป็น 9.6 x 6 cm. และ ระยะขอบจะเป็น 8.4 x 4.8 cm. นั่นเอง เรามาเริ่มทำนามบัตรให้น้องแมวตัวนี้กันครับ โดยจะทำเป็น 3 แบบคือ
● ไม่ได้ทำตัดตก
● ทำอาร์ตเวิร์คเกินระยะขอบ หรือระยะปลอดภัย
● ทำอาร์ตเวิร์คมีทั้งตัดตก และระยะขอบ
เรามาดูกันครับว่าเมื่อพิมพ์ และตัดออกมาแล้วงานจะออกมารูปแบบไหน
แต่ก่อนอื่นเรามาดูวิธีการตั้งค่า ระยะตัดตก และ ระยะขอบ ในโปรแกรม Illustrator กันก่อน
วิธีการตั้งค่าระยะตัดตก ( Bleed ) และ ระยะตัดขอบ หรือระยะปลอดภัย ( Margin )
เรามาดูกันว่าถ้าเราไม่ทำตัดตก หรือทำอาร์ตเวิร์คสำคัญๆ เกินระยะตัดขอบ ( ระยะปลอดภัย ) เมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วนำไปตัดจะออกมาแบบไหน
1. แบบที่ไม่ได้ทำระยะตัดตก ถ้าเราไม่ได้ทำตัดตกเวลานำงานไปตัดอาจจะเห็นขอบสีขาวๆ ได้
2. แบบที่ทำอาร์ตเวิร์คเกินระยะตัดขอบ ( ระยะปลอดภัย ) เมื่อนำไปตัด รูปภาพ ข้อความ หรือกราฟฟิคสำคัญๆ อาจจะตัดกินเข้าไปได้ ตามตัวอย่างหูของน้องแมวโดยตัดจนแหว่งไปเลย ดังนั้นเวลาออกแบบอาร์ตเวิร์คเราไม่ควรออกแบบให้รูปภาพ ข้อความ หรือกราฟฟิคที่สำคัญๆ เกินระยะตัดขอบ
3. แบบที่ทำอาร์ตเวิร์คมีทั้ง ระยะตัดตก และ ระยะตัดขอบ งานที่ออกมาสำเร็จแล้วจะสวยงาม ไม่มีขอบขาว และไม่โดนตัดกินรูปภาพ